วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

วิธีการทำขนมไทย


คลิปวีดีโอแนะนำขั้นตอนการทำขนมไทย


ขนมไทยวิธีการทำสัมปะนี


ขนมไทยวิธีการทำลูกชุบ
ลูกชุบ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งทำด้วยถั่วเขียวบดกวนปั้นเป็นรูปร่างต่างๆระบายสี แล้วนำไปชุบวุ้นให้สวยงาม สีที่ใช้ทำลูกชุบนั้นนอกจากระบายลงบนถั่วเขียวกวนที่ปั้นแล้ว ยังใส่สีลงในถั่วกวนโดยตรงได้อีก เช่น
  • สีเหลือง สำหรับขนมที่จะปั้นเป็นผลมะปรางใช้ฟักทองนึ่งแล้วยีละเอียดผสมในถั่วกวน
  • สีแสด เช่นผลมะเขือเทศสีดา ใช้มะละกอสุกยีละเอียดผสมในถั่วกวน
  • สีชมพู เช่น ชมพู่แก้มแหม่ม ใช้หัวบีทรูทต้มยีละเอียดกรองแต่น้ำผสมในถั่วกวน
  • สีแดง เช่นผลเชอรี่ ใช้หัวบีทรูทเช่นกัน แต่ใส่ให้มากขึ้น
  • สีเขียว เช่น พุทรา มะยม ชมพู่เขียว ใช้ใบเตยหั่นละเอียดกรองเอาแต่น้ำ
  • สีน้ำตาล เช่น ผลลำไย ละมุด ใช้ผงโกโก้ร่อน ผสมในถั่วกวน





ขนมไทยวิธีการทำขนมเทียน
ขนมเทียน หรือ ขนมนมสาว ทางภาคเหนือเรียกว่า ขนมจ็อก ซึ่งเป็นขนมที่นิยมใช้ในงานบุญของชาวเชียงใหม่โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ แต่เดิมมีไส้มะพร้าวและไส้ถั่วเขียว แต่ในปัจจุบันมีการดัดแปลงไส้ขนมจ็อกออกไปหลากหลายมากชาวจีนใช้ขนมเทียนในการไหว้บรรพบุรุษช่วงวันตรุษและวันสารท ไส้เป็นถั่วเขียวกวนบด ถ้าแบบเค็มจะใส่พริกไทยและเกลือ แบบหวานใส่มะพร้าวและน้ำตาลลงไปเพิ่ม ถ้าตัวแป้งทำด้วยแป้งถั่วเรียกขนมเทียนแก้ว
ในพิธีกรรมของชาวชอง จะใช้ขนมเทียนในพิธีไหว้ผีหิ้งด้วย
== อ้างอิง ==การทำขนมเทียน การทำขนมเทียนมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นประเพณีของคนโบราณที่มักจะทำขนมเทียนไปทำบุญหรือทำ เพื่อประเพณีต่างๆ ซึ่งวิธีการทำขนมเป็นวิธีการดั่งเดิมและเป็นที่เลื่องลือทางรสชาติความอะ ร่อย คณะผู้จัดทำมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ และอยากจะนำวิธีการทำขนมเทียนมาดัดแปลงให้เป้นที่ ยอมรับของเยาวชนรุ่นใหม่ จุดประสงค์ 1.ต้องการให้ทุกคนรู้ถึงคุณค่าของการทำขนมเทียน 2.ต้องการให้ผู้ที่มาศึกษาสามารถค้นคว้าเพื่อทำรายงานได้ 3.เพื่อสืบสานวัฒนธรรมของไทย 4.เพื่อนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาทำหรือดัดแปลงให้เป็นที่น่ายอมรับของคนทั่วไป 5.เพื่อเผยแพร่ให้คนทั่วโลกรู้เกี่ยวกับการทำขนมเทียน




 ขนมครก เป็นขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง ทำจากแป้ง น้ำตาล และกะทิ แล้วเทลงบนเตาหลุม เวลาจะทานต้องแคะออกมา เป็นแผ่นวงกลม แล้วมักวางประกบกันตอนรับประทาน เป็นขนมของไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณ นอกจากนี้ยังพบในพม่า ลาว และอินโดนีเซีย โดยชาวอินโดนีเซียเรียกว่าเซอราบี (serabi)
 มีหลักฐานว่าขนมครกเป็นที่นิยมแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีการทำเตาขนมครกขายตั้งแต่ยุคนั้น ขนมครกแต่เดิมใช้ข้าวเจ้าแช่น้ำโม่รวมกับหางกะทิ ข้าวสวย และมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย ผสมเกลือเล็กน้อยใช้เป็นตัวขนม ส่วนหน้าของขนมครกเป็นหัวกะทิ ขนมครกชาววังจะมีการดัดแปลงหน้าขนมครกให้แปลกไปอีก เช่น หน้ากุ้ง (แบบเดียวกับข้าวเหนียวหน้ากุ้ง) หน้าไข่ หน้าหมู (แบบเดียวกับไส้ปั้นสิบ) หน้าเผือก หน้าข้าวโพด หน้าต้นหอม

 อ้างอิงค์

ที่มาของคลิบสอนทำขนมได้มาจากเว็บไซด์ดังต่อไปนี้
http://www.arnurakkanomthai.com
http://www.wikipedai.com

ทั้งนี้สมาคมอนุรักษ์วัฒธรรมไทย ได้มีแนวร่วมในการสร้างคลิปทำขนมไทยเพื่อนำเสนอ และให้ความรู้อย่างชัด

ขนมไทยที่ได้รับความนิยม

  •  กรุงเทพมหานคร เขตธนบุรีมีขนมฝรั่งกุฎีจีน
  • จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด มีทุเรียนกวน
  • จังหวัดฉะเชิงเทรา มี ขนมชั้น
  • จังหวัดชลบุรี ตลาดหนองมน มี ข้าวหลาม
  • จังหวัดชุมพร มีขนมควายลุย
  • จังหวัดตรัง มี ขนมเค้กเมืองตรัง
  • จังหวัดนครปฐม มีขนมผิงและข้าวหลาม
  • จังหวัดนครสวรรค์ มี ขนมโมจิ ขนมฟักเขียวกวน
  • จังหวัดปราจีนบุรี มี ขนมเขียว
  • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนใหญ่เป็นผลไม้เชื่อม ผลไม้กวน เช่น มะยมเชื่อม พุทรากวน ที่ตำบลท่าเรือ มีขนมบ้าบิ่น
  • จังหวัดพัทลุง มี ขนมก้านบัว
  • จังหวัดพิษณุโลก อำเภอบางกระทุ่ม มีกล้วยตาก
  • จังหวัดเพชรบุรี เป็นแหล่งที่มีขนมหวานที่มีชื่อเสียงมานาน โดยเฉพาะขนมที่ทำมาจากตาลโตนดเช่น จาวตาลเชื่อม โตนดทอด ตังเม ส่วนขนมชนิดอื่นที่มีชื่อเสียงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาคือ ขนมขี้หนู ข้าวเกรียบงา ขนมหม้อแกง
  • จังหวัดสตูล มี ขนมบุหงาบูดะ ขนมโรตีกาปาย และ ข้าวเหนียวกวนขาว
  • จังหวัดสมุทรปราการ มี ขนมจาก
  • จังหวัดสมุทรสงคราม มีขนมจ่ามงกุฏ
  • จังหวัดสิงห์บุรี มีมะม่วงกวนหรือส้มลิ้ม
  • จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า มีขนมสาลี่
  • จังหวัดอ่างทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ มีขนมเกสรลำเจียก
  • จังหวัดอุตรดิตถ์ มีขนมเทียนเสวย ข้าวหลามทุ่งยั้ง
  • จังหวัดอุทัยธานี หนองแก มี ขนมกง ขนมปังสังขยา

 จากการสำรวจความนิยมของขนมไทย ส่วนใหญ่มักเป็นแนวคิดเรื่องงานหนึ่งตำบลหนึงผลิตภัณฑ์ ตามจังหวัดต่างๆก็ได้มีการนำขนมไทยมาแปรรูปบรรจุภัณพร้อมส่งขายให้กับบรรดานักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนตามจังหวัดนั้นๆได้ซื้อกลับไปเป็นของฝากที่บ้านเกิดของตนเอง ตามหลักการพัฒนาทางภูมิปัญญาชาวบ้านสู่รายได้ที่หมุนเวียนเข้าสู่สังคมไทยในปัจจุบัน ซึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นก่อเกิดผลิตภัณอันล้ำค่าประจำชุมชนนั้นให้เป็นจุดสนใจนั่นเอง


http://www.ezythaicooking.com/thai_dessert_recipes.html
http://www.skn.ac.th/skl/project/swee65/menu2.htm
http://www.baitong.in.th/

ขนมไทยคืออะไร?











เอกลักษณ์ของขนมไทย
ขนมไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ














ความหมายของขนมไทย

ขนมไทย 
หมายถึง ของว่างหรืออาหารรองท้องของชาวไทย จัดอยู่ในประเภทอาหารคาวอาหารหวาน
ซึ่งมีให้เลือกหลากรูปแบบนานาชนิด จุดกำเนิดของขนมไทยคือการรวมตัวของวัฒนธรรมนานาชาติ
ในตั้งแต่สมัยโบราณจนเกิดเป็นขนมไทยขึ้น จนในยุคปัจจุบันก็ยังมีข้อพิพากษ์เรื่องขนมไทย จริงๆแล้ว
เป็นแนวคิดของคนไทยรึเปล่า แต่ถ้าหากดูใช้เจนแล้วด้วยความรวมตัวผสมผสานความเป็นชาติต่างๆ
ในสากลโลกแล้ว นั่นแหละคือความเป็นไทยที่ชัดเจนที่สุด 

THAI DESSERT
noun
the sweet course eaten at the end of a meal : a dessert of chocolate mousse.
ORIGIN mid 16th cent.: from French, past participle of desservir ‘clear the table,’ from des- (expressing removal) + servir ‘to serve.’


ประเภทของขนมไทย
แบ่งตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้
  • ขนมที่ทำให้สุกด้วยการกวน ส่วนมากใช้กระทะทอง กวนตั้งแต่เป็นน้ำเหลวใสจนงวด แล้วเทใส่พิมพ์หรือถาดเมื่อเย็นจึงตัดเป็นชิ้น เช่น ตะโก้ ขนมลืมกลืน ขนมเปียกปูน ขนมศิลาอ่อน และผลไม้กวนต่างๆ รวมถึง ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว และกะละแม
  • ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง ใช้ลังถึง บางชนิดเทส่วนผสมใส่ถ้วยตะไลแล้วนึ่ง บางชนิดใส่ถาดหรือพิมพ์ บางชนิดห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าว เช่น ช่อม่วง ขนมชั้น ข้าวต้มผัด สาลี่อ่อน สังขยา ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้ ขนมเทียน ขนมน้ำดอกไม้
  • ขนมที่ทำให้สุกด้วยการเชื่อม เป็นการใส่ส่วนผสมลงในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดจนสุก ได้แก่ ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน กล้วยเชื่อม จาวตาลเชื่อม
  • ขนมที่ทำให้สุกด้วยการทอด เป็นการใส่ส่วนผสมลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ จนสุก เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ขนมกง ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด
  • ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่งหรืออบ ได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน สาลี่แข็ง ขนมจ่ามงกุฏ นอกจากนี้ อาจรวม ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมดอกลำเจียกที่ใช้ความร้อนบนเตาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย
  • ขนมที่ทำให้สุกด้วยการต้ม ขนมประเภทนี้จะใช้หม้อหรือกระทะต้มน้ำให้เดือด ใส่ขนมลงไปจนสุกแล้วตักขึ้น นำมาคลุกหรือโรยมะพร้าว ได้แก่ ขนมถั่วแปบ ขนมต้ม ขนมเหนียว ขนมเรไร นอกจากนี้ยังรวมขนมประเภทน้ำ ที่นิยมนำมาต้มกับกะทิ หรือใส่แป้งผสมเป็นขนมเปียก และขนมที่กินกับน้ำเชื่อมและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก ลอดช่อง ซ่าหริ่ม






ข้อสรุปเรื่องความหมายและเอกลักษณ์ของขนมไทย
      ขนมไทยเป็นส่วนนึงที่แสดงค่าความเป็นชาตินิยมของไทย เราคนไทยจึงควรหันกลับมาอนุรักษ์รักษาความเป็นไทย ด้วยการเริ่มจากการศึกที่มาของขนมไทย และรู้จักขั้นตอนกันทำ ส่วนผสม และสอนต่อลูกหลานชาวไทยสืบต่อกันไปหัวข้อของบล๊อคนี้ได้พูดถึงความรู้จากหนังสือและการสอบถามความคิดเห็นจากคนที่รับประทานขนมไทยมากันซึ่งก็พบว่าจากการสำรวจบุคคลทั่วไปนั้นมีค่านิยมในการบริโภคขนมไทยยังคงน้อยอยู่ เพราะด้วยความที่จุดจำหน่ายและบรรจุภัณ ยังไม่มีความน่าสนใจพอที่จะให้ซื้อ เท่าขนมเคก หรือขนมจากต่างชาติ  
   ดังนั้นดิฉันในฐานะคนสำรวจข่้อมูลเหล่านี้ จึงอยากบอกถึงความเป็นมาของขนมไทย และความน่าทึ่งของขนมไทยให้กับคนที่สนใจ ได้เข้ามาศึกษาข้อมูลการวิจัยนี้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และร่วมกันสานต่อความเป็นไทย ด้วยการเห็นคุณค่าของขนมไทยพร้อมกลับมาบริโภคสินค้าไทย ให้เศรษฐกืิจไทยได้หมุนเวียนนั้นเองค่ะ






สัมภาษณ์ เจ้าของร้านขนมไทย ตลาดสี่มุมเมือง
คุณสมรศรี อำนวยมิตร อยู่โซนตลาดสด
บทความเรื่อง : วัฒนธรรมขนมไทย นิตยาสาร ขวัญเรือน ฉบับที่ 224 

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคในการทำขนมหวานไทย

วัตถุดิบในการทำขนมไทย

ขนมไทยส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวและจะใช้ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี ภาชนะ กลิ่นหอมจากธรมชาติ ข้าวที่ใช้ในขนมไทยมีทั้งใช้ในรูปข้าวทั้งเม็ดและข้าวที่อยู่ในรูปแป้ง นอกจากนั้นยังมีวัตถุดิบอื่นๆ เช่น มะพร้าว ไข่ น้ำตาล ซึ่งจะกว่างถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้

[แก้]ข้าวและแป้ง

การนำข้าวมาทำขนมของคนไทยเริ่มตั้งแต่ข้าวไม่แก่จัด ข้าวอ่อนที่เป็นน้ำนม นำมาทำข้าวยาคู พอแก่ขึ้นอีกแต่เปลือกยังเป็นสีเขียวนำมาทำข้าวเม่าข้าวเม่าที่ได้นำไปทำขนมได่อีกหลายชนิด เช่น ข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าบด ข้าวเม่าหมี่ กระยาสารท ข้าวเจ้าที่เหลือจากการรับประทาน นำไปทำขนมไข่มด ขนมไข่จิ้งหรีด ข้าวตูได้อีก[3] ส่วนแป้งที่ใช้ทำขนมไทยส่วนใหญ่ได้มาจากข้าวคือแป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียว ในสมัยก่อนใช้แป้งสดคือแป้งที่ได้จากการนำเม็ดข้าวแช่น้ำแล้วโม่ให้ละเอียด ในปัจจุบันใช้แป้งแห้งที่ผลิตจากโรงงาน นอกจากนี้ แป้งที่ใช้ได้แก่ แป้งถั่ว แป้งท้าวยายม่อม แป้งมันสำปะหลัง ส่วนแป้งสาลีมีใช้น้อย มักใช้ในขนมที่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ[4]

[แก้]มะพร้าวและกะทิ

มะพร้าวนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของขนมไทยได้ตั้งแต่มะพร้าวอ่อนจนถึงมะพร้าวแก่ดังนี้ [4]
  • มะพร้าวอ่อน ใช้เนื้อผสมในขนม เช่น เปียกสาคู วุ้นมะพร้าว สังขยามะพร้าวอ่อน
  • มะพร้าวทึนทึก ใช้ขูดฝอยทำเป็นไส้กระฉีก ใช้คลุกกับข้าวต้มมัดเป็นข้าวต้มหัวหงอก และใช้เป็นมะพร้าวขูดโรยหน้าขนมหลายชนิด เช่น ขนมเปียกปูน ขนมขี้หนู ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของขนมไทย[5]
  • มะพร้าวแก่ นำมาคั้นเป็นกะทิก่อนใส่ในขนม นำไปทำขนมได้หลายแบบ เช่น ต้มผสมกับส่วนผสม เช่นกล้วยบวชชี แกงบวดต่างๆ หรือตักหัวกะทิราดบนขนม เช่น สาคูเปียก ซ่าหริ่ม บัวลอย

[แก้]น้ำตาล

แต่เดิมนั้นน้ำตาลที่นำมาใชทำขนมคือน้ำตาลจากตาลหรือมะพร้าว ในบางท้องที่ใช้น้ำตาลอ้อย น้ำตาลทรายถูกนำมาใช้ภายหลัง

[แก้]ไข่

เริ่มเป็นส่วนผสมของขนมไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งได้รับอิทธิพลจากขนมของโปรตุเกส ไข่ที่ใช้ทำขนมนี้จะตีให้ขึ้นฟู ก่อนนำไปผสม ขนมบางชนิดเช่น ต้องแยกไข่ขาวและไข่แดงออกจากกัน แล้วใช้แต่ไข่แดงไปทำขนม [4]

[แก้]ถั่วและงา

ถั่วและงาจัดเป็นส่วนผสมที่สำคัญในขนมไทย การใช้ถั่วเขียวนึ่งละเอียดมาทำขนมพบได้ตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่นขนมภิมถั่วทำด้วยถั่วเหลืองหรือถั่วเขียวกวนมาอัดใส่พิมพ์[6] ถั่วและงาที่นิยมใช้ในขนมไทยมีดังนี้[7]
  • ถั่วเขียวเราะเปลือก มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ถั่วทอง ถั่วซีก ถั่วเขียวที่ใช้ต้องล้างและแช่น้ำค้างคืนก่อนเอาไปนึ่ง
  • ถั่วดำ ใช้ใส่ในขนมไทยไม่กี่ชนิด และใส่ทั้งเม็ด เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวหลาม ถั่วดำต้มน้ำตาล ขนมถั่วดำ
  • ถั่วลิสง ใช้น้อย ส่วนใหญ่ใช้โรยหน้าขนมผักกาดกวน ใส่ในขนมจ่ามงกุฏ ใส่ในรูปที่คั่วสุกแล้ว
  • งาขาวและงาดำ ใส่เป็นส่วนผสมสำคัญในขนมบางชนิดเช่น ขนมเทียนสลัดงา ขนมแดกงา

[แก้]กล้วย

กล้วยมีส่วนเกี่ยวข้องกับขนมไทยหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ขนมกล้วย กล้วยกวน กล้วยเชื่อม กล้วยแขกทอด หรือใช้กล้วยเป็นไส้ เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วย ข้าวเม่า กล้วยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นกล้วยน้ำว้า กล้วยแต่ละชนิดเมื่อนำมาทำขนมบางครั้งจะให้สีต่างกัน เช่น กล้วยน้ำว้าเมื่อนำไปเชื่อมให้สีแดง กล้วยไข่ให้สีเหลือง เป็นต้น[8]

[แก้]สี

สีที่ได้จากธรรมชาติและใช้ในขนมไทย มีดังนี้ [4]
  • สีเขียว ได้จากใบเตยโขลกละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ
  • สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน เด็ดกลีบดอกอัญชันแช่ในน้ำเดือด ถ้าบีบน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อยจะได้สีม่วง
  • สีเหลืองจากขมิ้นหรือหญ้าฝรั่น
  • สีแดงจากครั่ง
  • สีดำจากกาบมะพร้าวเผาไฟ นำมาโขลกผสมน้ำแล้วกรอง

[แก้]กลิ่นหอม

กลิ่นหอมที่ใช้ในขนมไทยได้แก่ [4]
  • กลิ่นน้ำลอยดอกมะลิ ใช้ดอกมะลิที่เก็บในตอนเช้า แช่ลงในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วให้ก้านจุ่มอยู่ในน้ำ ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นจึงกรอง นำนำไปใช้ทำขนม
  • กลิ่นดอกกระดังงา นิยมใช้อบขนมแห้ง โดยเด็ดกลีบกระดังงามาลนเทียนอบให้หอม ใส่ขวดโหลที่ใส่ขนมไว้ ปิดฝาให้สนิท
  • กลิ่นเทียนอบ จุดไฟที่ปลายเทียนอบทั้งสองข้างให้ลุกสักครู่หนึ่งแล้วดับไฟ วางลงในถ้วยตะไล ใส่ในขวดโหลที่ใส่ขนม ปิดผาให้สนิท
  • กลิ่นใบเตย หั่นใบเตยที่ล้างสะอาดเป็นท่อนยาว ใส่ลงไปในขนม